ข้อมูลทั่วไปของวิทยาลัย


ประวัติวิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม

ประวัติ ความเป็นมา ของวิทยาลัย <<< คลิกเพื่อดู Video !!

วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม เดิมมีชื่อว่าโรงเรียนช่างไม้สมุทรสงครามได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการ  ให้เปิดทำการสอนวิชาชีพช่างไม้ โดยรับนักเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เข้าเรียนวิชาชีพ เรียกว่า  ประถมอาชีพช่างไม้หลักสูตร 2 ปี เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ.2484  โดยใช้อาคารไม้  2  หลัง   ของโรงเรียนประจำจังหวัดศรัทธาสมุทร  ซึ่งปลูกสร้างอยู่ในบริเวณวัดบ้านแหลม (วัดเพชรสมุทรวรวิหาร)  ในความอุปการะของท่านเจ้าคณะจังหวัดสมุทรสงคราม ในขณะนั้นการเรียนการสอนและกิจกรรม  ต่าง ๆ ดำเนินไปด้วยดีและได้เปิดรับนักเรียนที่โรงเรียนเกลือไทยวัดบางลี่ ตรงข้ามที่ว่าการอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม  เพื่อรับนักเรียนเพิ่มเติมในเขตท้องที่อำเภออัมพวา  อำเภอบางคนที   ในปี พ.ศ.2493-2494

ปี  พ.ศ. 2495 เนื่องจากอาคารเรียนไม้เดิมของโรงเรียนศรัทธาสมุทรชำรุดทรุดโทรมมากทางจังหวัดจึงได้ดำเนินการของบประมาณในการก่อสร้างอาคารไม้ 2 ชั้น (นายแสวง    เรืองจำเนียรศึกษาธิการจังหวัด)    ชั้นบนเป็นห้องเรียนและห้องพักนักเรียนประจำ   ชั้นล่างแบ่งเป็นโรงฝึกงานห้องธุรการและได้รับการก่อสร้างอาคารตึกแถว 2 ชั้น 2 คูหาของกรมสามัญ เป็นห้องสมุดประชาชนโรงเรียนได้สร้างเพิ่มเติมอีก 2 คูหา  2 ชั้น   เปิดสอนวิชาช่างตัดผมหลักสูตรระยะสั้น 1 คูหา อีก 1 คูหา แสดงกิจกรรมของนักเรียน

    ปี  พ.ศ. 2497  กระทรวงศึกษาธิการ  ได้ขยายระดับการศึกษาให้สูงขึ้น  โดยอนุญาตให้       โรงเรียนเปิดทำการสอนในระดับชั้นมัธยมอาชีวศึกษา การเรียนการสอนได้เจริญก้าวหน้าด้วยดีตลอดมา  ในปีนี้ได้ดำเนินการจัดซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้า  เครื่องไสไม้  เครื่องจักร  เครื่องมือทุ่นแรงและอุปกรณ์การศึกษาต่าง ๆ  ด้วยเงินบำรุงการศึกษาของโรงเรียนเอง  จำนวนนักเรียนมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อย ๆทำให้สถานที่ตั้งของโรงเรียนคับแคบไม่สามารถจะขยายกิจการ หรือก่อสร้างอาคารเรียนเพิ่มขึ้นได้ และทางวัดต้องการสถานที่ตั้งของโรงเรียนก่อสร้างตึกสงฆ์

         ปี  พ.ศ. 2501  โรงเรียนได้เสนอโครงการเพื่อย้ายสถานศึกษา  โดยความเห็นชอบของจังหวัด  (นายนพ   จุลษาญจน์  ศึกษาธิการจังหวัด)   ได้ของบประมาณจัดซื้อที่ดิน  เป็นเงิน 60,000 บาท    ใช้เงินบำรุงการศึกษาสมทบอีก 30,000 บาท  เป็นที่ดินของเอกชนที่ตำบลลาดใหญ่  หมู่ 1  อำเภอเมืองจังหวัดสมุทรสงคราม   จำนวน   42  ไร่  1  งาน   25 ตารางวา  รวมถนนเอกชน  ได้ก่อสร้างโรงฝึกงาน  2  หลัง ๆ ละ  80,000  บาท  (ช่างยนต์ , ช่างเคหภัณฑ์)    บ้านพักครู 1 หลัง    โรงเรียนได้วางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่  10  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2501  โดยนายชาติ  บุญรัตพันธ์  ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงครามเป็นประธาน

 ปี  พ.ศ. 2502 โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนไม้  1 หลัง  2 ชั้น 10  ห้องเรียน ราคา      350,000 บาท (อาคาร 1)  และโรงฝึกงานอีก 2 หลัง ๆ ละ 80,000  บาท  (ช่างก่อสร้าง , ช่างฝึกฝีมือเก่า) และได้ย้ายนักเรียนมาเรียนที่แห่งใหม่ ในปี พ.ศ.2503 เปิดทำการสอนระดับมัธยมอาชีวศึกษาชั้นสูงในปี พ.ศ. 2507 และเปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนช่างไม้เป็นโรงเรียนการช่างสมุทรสงคราม

 ปี  พ.ศ.2510  ได้เปิดรับนักเรียนเข้าศึกษาในวิชาช่างยนต์-ดีเซล โดยใช้อาคารโรงงานหลังที่ 1

   ปี  พ.ศ. 2513  ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารโรงฝึกงานช่างกลโรงงาน 1 หลัง  

ราคา  30,000 บาท เปิดรับนักเรียนเข้าเรียนวิชาช่างกลโรงงานในปี 2514 และเปิดสนามฝึกนักศึกษาวิชาการทหารจนถึงปัจจุบัน

 ปี  พ.ศ.2515  ได้รับงบประมาณต่อเติมอาคารโรงฝึกงานช่างยนต์และช่างก่อสร้างเป็นโรงฝึกงานแฝดหลังละ 200,000  บาท และก่อสร้างอาคารเรียนตึก 2 ชั้น 1 ยูนิต ราคา 500,000 บาท

 ปี  พ.ศ. 2516  ต่อเติมอาคารอีก 1 ยูนิต ราคา 500,000  บาท  (อาคาร 2 )

 ปี  พ.ศ. 2517  ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารโรงฝึกงานช่างไฟฟ้า  1  หลัง ราคา 300,000 บาท และเปิดรับนักเรียนเข้าเรียนแผนกช่างไฟฟ้า ปี พ.ศ. 2518

 ปี  พ.ศ.2518  ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารโรงฝึกงานช่างเชื่อมและโลหะแผ่น 1 หลัง  ราคา  420,000  บาท  และก่อสร้างโรงอาหาร  หอประชุม 1 หลัง  ราคา  500,000  บาท  และเปิดรับนักเรียนช่างเชื่อมและโลหะแผ่น ปีการศึกษา 2519

 ปี  พ.ศ. 2519  เนื่องด้วยมีนักเรียนที่สนใจจะเข้าศึกษาวิชาชีพเพิ่มมากขึ้น  โรงเรียนได้รับอนุมัติเปิดทำการสอนรอบเช้าและรอบบ่าย   โดยรับเฉพาะแผนกวิชาชีพช่างยนต์  ช่างกลโรงงาน  และ ช่างไฟฟ้า  ได้ขอยุบเลิกแผนกวิชาช่างตัดผมหลักสูตรระยะสั้นในปีนี้ด้วย

 ปี พ.ศ. 2521  โดยขอความร่วมมือของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตพระนครเหนือกับกรมอาชีวศึกษากำหนดให้โรงเรียนการช่างสมุทรสงคราม เป็นโรงเรียนต้นแบบอุตสาหกรรม ใช้หลักสูตรการเรียนการสอนของสถาบัน  กำหนดปี  พ.ศ. 25212523   และ   พ.ศ. 25242525 ประเมินผล และได้จัดการสอนเป็นระบบเปิดโดยเปิดเรียนตั้งแต่เวลา 7.3018.20 น. วันจันทร์ ถึง วันเสาร์ ได้เปิดสอนแผนกวิชาช่างเขียนแบบเครื่องกล แผนกวิชาเครื่องจักรกลงานไม้ แผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ โดยสถาบันฯ ได้ส่งครู-อาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญของสถาบันมาช่วยสอนและแนะนำด้วยในปีเดียวกันนี้ได้รวมโรงเรียนอาชีวศึกษาสมุทรสงครามเข้าเป็นโรงเรียนเดียวกันและเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนเทคนิคสมุทรสงครามได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารและตึกปฏิบัติการคหกรรม 2 ชั้น 1 หลัง ราคา 1,500,000 บาท และอาคารเรียน 3 ชั้น 9 ห้องเรียน 1 หลัง  ราคา  1,750,000 บาท

 ปี  พ.ศ. 2522  ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารโรงฝึกงานช่างฝีมือ  1 หลัง ราคา 845,000  บาท  และบ้านพักครู  10  หลัง  ขอใช้ที่ดินราชพัสดุเพื่อขยายบริเวณโรงเรียนอีก  34  ไร่

 ปี  พ.ศ. 2523  ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนตึก 4 ชั้น 1 หลัง ราคา 5,001,000 บาท และได้เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนเทคนิคสมุทรสงคราม เป็น วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม  ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2523 หลังจากปี  พ.ศ. 2523   เป็นต้นมา  วิทยาลัยฯ  ได้รับเงินงบประมาณเพื่อนำมาใช้จ่ายในการจัดการศึกษามากขึ้น  ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาวิทยาลัยฯ ทุก ๆ ด้าน  ทั้งอาคารและสถานที่   และส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนโดยตรงเช่นจัดซื้อวัสดุ  เพื่อนำมาใช้ในการฝึกหัดภาคปฏิบัติและจัดทำอุปกรณ์การสอนทุกแผนกสำหรับสิ่งก่อสร้างที่ได้จัดทำสำเร็จมีดังนี้

               1.   รั้วหน้าวิทยาลัย                                              ใช้เงินในการทำ       101,500     บาท

               2.   ถนนคอนกรีตภายในวิทยาลัย                         ใช้เงินในการทำ       113,700     บาท

               3.   ระบบแสงสว่างภายในวิทยาลัย                      ใช้เงินในการทำ       150,000     บาท

               4.   ระบบน้ำประปา-บาดาล                                   ใช้เงินในการทำ       750,000    บาท

               5.   ต่อเติมโรงฝึกงานช่างไฟฟ้า, ช่างเชื่อม          ใช้เงินในการทำ     1,000,000   บาท

               6.   จัดทำห้องน้ำ-ห้องส้วม 2 หลัง                        ใช้เงินในการทำ        145,000   บาท

               7.   จัดทำห้องน้ำ-ห้องส้วม 2 หลัง (ชั่วคราว)        ใช้เงินในการทำ         40,000    บาท

               8.   ปรับปรุงอาคารเรียนและห้องสมุด (อาคาร 1)  ใช้เงินในการทำ         40,000    บาท

   ปี  พ.ศ. 2524  คณะบริหารธุรกิจย้ายมาในวิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม

   ปี  พ.ศ. 2525  ต่อเติมอาคารโรงฝึกงานช่างไฟฟ้าและช่างเชื่อมโลหะแผ่น

   ปี  พ.ศ. 2526  ปรับปรุงอาคารเรียนและห้องสมุด รั้วคอนกรีต ถนนคอนกรีต

   ปี  พ.ศ. 2527  เปิดทำการสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค  (ปวท.)  สาขาเทคนิควิศวกรรมไฟฟ้า   สาขาบริหารธุรกิจ และเปิดทำการสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง  (ปวส.)  สาขาช่างยนต์  (เทคนิคยานยนต์)   สาขาคหกรรมศาสตร์ และสาขาบริหารธุรกิจ (บัญชี)  และได้ปรับปรุง

               1.  ปรับปรุงอาคารเรียน  1  เป็นสำนักงานส่งเสริม

               2.  จัดทำห้องโสตทัศนศึกษา     

    ปี พ.ศ. 2528 ต่อเติมโรงอาหาร-หอประชุมและเรือนรับรอง  ได้รับคัดเลือกเป็นสถานศึกษา เร่งรัดพัฒนาดีเด่น

    ปี พ.ศ. 2529  ต่อเติมแผนกช่างไฟฟ้า  ก่อสร้าง  ช่างยนต์  ได้รับงบประมาณสร้างตึกปฏิบัติการ 4 ชั้น  ปรับปรุงห้องปฏิบัติการอาหาร  และเป็นเจ้าภาพแข่งขันทักษะระดับกลุ่มสถานศึกษาเขตการศึกษา 1, 5 และ กทม.

    ปี พ.ศ. 2530  เปิดทำการสอนวิชาช่างไฟฟ้าในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงและเกิดเพลิงไหม้บ้านพักครู 3 ยูนิตแรก  ในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2530

    ปี พ.ศ. 2531  ได้รับงบประมาณต่อเติมแผนกช่างกลโรงงาน

    ปี พ.ศ. 2532  จัดตั้งมูลนิธิรมณียา   ลิปิสุนทร  เมื่อวันที่  28  มีนาคม  2532

    ปี พ.ศ. 2533  เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เพิ่มอีก 2 สาขาวิชา  คือ  สาขาวิชาเทคโนโลยีการสื่อสาร , สาขาวิชาเทคนิคการผลิต

    ปี พ.ศ. 2534  เปิดทำการสอน  วิชาเทคนิควิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.)  ได้จัดตั้งสมาคมผู้ปกครองและครูวิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม

    ปี พ.ศ. 2536  ได้รับการคัดเลือกเป็น สถานศึกษาดีเด่นกรมอาชีวศึกษา ประเภทช่างอุตสาหกรรมและเปิดทำการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เพิ่มอีก 2 สาขาวิชา คือ

                 1.  สาขาวิชาช่างเชื่อมโลหะ   สาขางานเชื่อมอุตสาหกรรม

                 2.  สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์   สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

                  และได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนปฏิบัติการ 5 ชั้น  (อาคาร 3)

     ปี พ.ศ. 2537  ได้รับการคัดเลือกให้เป็น สถานศึกษารับรางวัลพระราชทาน ประจำปีการศึกษา  2537

       ปี พ.ศ. 2538  เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ทวิภาคี) 4 สาขาวิชา คือ สาขาวิชา ช่างยนต์  สาขาวิชาช่างกลโรงงาน  สาขาวิชาช่างเชื่อมโลหะ สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง จัดตั้ง ศูนย์รมณียา  แหล่งวิทยาการคอมพิวเตอร์”  ได้รับประมาณก่อสร้างอาคารปฏิบัติการ  จำนวน  1  หลัง  ซึ่งเป็นอาคารปฏิบัติการของแผนกวิชาช่างก่อสร้างและแผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง

     ปี พ.ศ.2539  ได้รับคัดเลือกให้เป็นสถานศึกษาในโครงการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ และได้รับรางวัลผลงานดีเด่นโครงการ  เสมาประชาธิปไตยของกระทรวงศึกษาธิการ

   ปี พ.ศ. 2540  เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ซึ่งรับผู้จบจากหลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย  (ม.6)  2  สาขาวิชา  คือ  สาขาวิชาการบัญชี  และสาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

              ปี พ.ศ. 2541  เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) สาขาวิชาไฟฟ้าวิชาเอก เทคนิคไฟฟ้าสื่อสาร  และได้รับรางวัลพระราชทานในโครงการ ร่วมใจสู้ภัยเศรษฐกิจ

                    -   เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

      ปี พ.ศ. 2542  ได้รับเกียรติบัตรผ่านเกณฑ์การประเมินมาตรฐานอาชีวศึกษา ของกรมอาชีวศึกษา

      ปี พ.ศ. 2543  เปิดทำการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เพิ่มสาขาวิชา ต่างๆ  ดังนี้

                    1.  สาขาวิชาช่างเขียนแบบเครื่องกล

                    2.  สาขาวิชาช่างก่อสร้าง

                    3.  สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง (ภาคสมทบ) 

                    4.  สาขาวิชาช่างยนต์  และสาขาวิชาเทคนิคการผลิต 

                         รับผู้สำเร็จการศึกษา  ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6)

       ปี พ.ศ. 2544 เปิดทำการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) รับผู้สำเร็จการศึกษาประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) เข้าศึกษาในสาขาวิชาการตลาด  และ  รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เข้าศึกษาในสาขาวิชาการเลขานุการ

                     -  ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารปฏิบัติการ 1 หลัง (อาคาร 60 ปี)

       ปี พ.ศ. 2545 ใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 2538 เป็น ปวช. 2545

       ปี พ.ศ. 2546 ใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 2545 เป็น ปวช. 2546 และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 2540 เป็น ปวส. 2546

ปี พ.ศ.  2547 ปรับปรุงระบบระบายน้ำภายในวิทยาลัย วงเงิน 270,000 บาท 

      - ทีมหุ่นยนต์หอยหลอด 2004 วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม ได้รางวัลชนะเลิศการแข่งขัน  หุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ประเทศไทยประจำปี 2547 ระดับอาชีวศึกษา และเป็นตัวแทนประเทศไทย  เข้าร่วมแข่งขันหุ่นยนต์ เอบียูเอเชีย-แปซิฟิก โรบอตคอนเทสต์ 2004 โซลที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้

ปี พ.ศ.  2548  ทีมหุ่นยนต์หอยหลอดได้รับรางวัล “The First Runner up” ในงาน Thailand Rescue Robot  Championship 2005  ณ  เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน

               ปี พ.ศ. 2549  ทีมหุ่นยนต์หอยหลอดได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ เป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขัน “ABU Asia Pacific Robot Contest 2006ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

ปี พ.ศ.  2550 ปรับปรุงอาคาร 5 สาขาวิชาคหกรรม วงเงิน 1,300,000 บาท

      - ปรับปรุงศูนย์ปฏิบัติการสาขาวิชาอาหารและโภชนาการ วงเงิน 400,000 บาท

      - ปรับปรุงเรือนรับรอง วงเงิน 220,000 บาท

      - สร้างห้องสุขาสำหรับนักเรียน นักศึกษา โดยใช้เงินสมาคมผู้ปกครองและครูวิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม วงเงิน 100,000 บาท

      - วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงครามได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) สมศ.

     - ทีมหุ่นยนต์หอยหลอดได้รับรางวัลชนะเลิศระดับชาติ การแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ประเทศไทย ประจำปี 2550 ระดับอาชีวศึกษา

ปี พ.ศ.  2551 ปรับปรุงโรงอาหารวิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม โดยใช้เงินจากกองทุน 60 ปี วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงครามเป็นเงิน 200,000 บาท และเงินสมาคมผู้ปกครองและครู เป็นเงิน 79,000 บาท

     - ปรับปรุงโรงจอดรถจักรยานยนต์ วงเงิน 277,000 บาท  

     - วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม ได้รับรางวัลพระราชทาน ในโครงการคัดเลือกนักเรียน นักศึกษาและสถานศึกษา เพื่อรับรางวัลพระราชทาน ระดับอาชีวศึกษาขนาดใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2551

                      - สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ สภานายิกาสภากาชาดไทยมีพระราชเสาวนีย์โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่าวิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงครามได้เป็นสถาบันที่ให้ความร่วมมือจัดหาผู้บริจาคโลหิตช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์อย่างสม่ำเสมอติดต่อกันนานกว่า 6 ปี สมควรได้รับประกาศเกียรติคุณชั้นที่ 3

        ปี พ.ศ. 2552 สร้างอาคารอเนกประสงค์โดยสมาคมผู้ปกครองและครูวิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม สมาคมศิษย์เก่าวิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม และคณะผู้บริหาร ครู เจ้าหน้าที่ ลูกจ้างประจำ นักเรียน นักศึกษา จัดทอดผ้าป่าสามัคคี เมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 52 เป็นวงเงิน 1,939,488 บาท แต่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์

                    ปัจจุบันวิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม มีพื้นที่ 54 ไร่ 1 งาน 3 ตารางวา แบ่งเป็น 2 แปลง

                      - ที่ดินภายในวิทยาลัย 43 ไร่ 1 งาน 9 ตารางวา

              - ที่ราชพัสดุทะเบียนเลขที่ สส.24 พื้นที่ 22 ไร่ 1 งาน 9 ตารางวา  ให้วิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรสงคราม 11 ไร่ 1 งาน 15 ตารางวา คงเหลือ 10 ไร่ 3 งาน 94 ตารางวา

                      - สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ศูนย์คอมพิวเตอร์รมณียา ลิปิสุนทร ได้รับรางวัลเหรียญทอง ในการประกวดห้องเรียนไฮเทค สถานที่เรียนรู้เฉพาะทางด้านไอที

              - สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดรถบุปชาติ ในงานสงกรานต์จังหวัดสมุทรสงคราม

                      - ด้านการกีฬาและนันทนาการ ได้รับรางวัลชนะเลิศกีฬาเปตอง  เทเบิลเทนนิส  เซปักตะกร้อ ฟุตบอล และกรีฑา ระดับเยาวชนแห่งชาติ  กีฬาแห่งชาติ    

       ปี พ.ศ. 2553 สร้างอาคารปฏิบัติการอเนกประสงค์พร้อมครุภัณฑ์ พื้นที่ไม่ต่ำกว่า 3,000 ตารางเมตร งบประมาณ 24,600,000 บาท

                       - องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงครามสนับสนุนสร้างหลังคาอาคารเอนกประสงค์โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กหลังคาไร้โครงสร้างรูปทรงลอนวี ขนาดกว้าง 20.00 ม. ยาว 60.00 ม. พื้นที่ใช้สอย 426.70 งบประมาณ 6,144,076 บาท 

                       - ผ่านการประเมินการดำรงสภาพสถานศึกษารางวัลพระราชทานและผ่านการประเมินตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

                       - เป็นสถานศึกษาที่ฝึกประสบการณ์ โครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการปี 2553  (สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา)

                       - วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงครามได้ผ่านการคัดเลือกเป็นแบบอย่างการจัดกระบวนการเรียนการสอนและบริหารจัดการตามนโยบายสถานศึกษา 3D ระดับ เหรียญทองแดง ประจำปี 2553 จาก สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

                       - นักศึกษาระดับ ปวส. ได้รับรางวัลชนะเลิศ ในการแข่งขันสมรรถนะด้านเทคนิคระดับภาคและระดับประเทศอาชีวศึกษา - อีซูซุ ณ จังหวัดลพบุรี

                       - นักศึกษาได้รับโล่รางวัล ชนะเลิศการแข่งขันทักษะวิชาชีพงานเครื่องยนต์ในการประชุมทางวิชาการองค์การวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทยระดับภาคกลาง ประจำปี 2553 ณ โรงแรมสตาร์ จังหวัดระยอง

                       - ในการแข่งขันประกวดหุ่นยนต์แขนกลอุตสาหกรรม นักศึกษาได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ในงานมหกรรมหุ่นยนต์อาชีวศึกษา

ข้อมูลทั่วไปของวิทยาลัย

1. ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ

วิสัยทัศน์

          ผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านวิชาชีพ

        ให้มีความรู้คู่คุณธรรมสามารถอยู่ในสังคมและประชาคมโลกได้อย่างมีความสุข

          ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานและทันต่อเทคโนโลยี

          สร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

          น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ

 

อัตลักษณ์ของสถานศึกษา  

ทักษะดี   มีคุณธรรม

 

พันธกิจ  

1.     บริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนด้านวิชาชีพเพิ่มมากขึ้น  โดยประสานความ   ร่วมมือกับสถานประกอบการ สนับสนุนการสร้างงาน สร้างรายได้ระหว่างเรียน

2.     ผลิตกำลังคนให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพ มีคุณธรรม เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานและ ประชาคมโลก

3.     สร้างโอกาสทางการศึกษาด้านวิชาชีพให้กับประชาชนทั่วไป และผู้ด้อยโอกาส

4.     สร้างและพัฒนาการวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมใหม่ๆ ให้ทันต่อเทคโนโลยีให้มีคุณภาพระดับสากล

5.     ปรับปรุงและสร้างสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกวิทยาลัยให้เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ

 

เป้าประสงค์

1.     ผู้เรียนด้านวิชาชีพเพิ่มขึ้น

2.     ผู้เรียนมีงานทำมีรายได้ระหว่างเรียน 

3.     สถานประกอบการภาครัฐ เอกชน ยอมรับและให้ความร่วมมือสนับสนุน

4.     ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับมาตรฐาน

5.     ผู้เรียนสอบผ่านมาตรฐานวิชาชีพ

6.     ผู้เรียนมีพฤติกรรมและค่านิยมเป็นที่ยอมรับของสังคม

7.     ครูผู้สอนมีคุณวุฒิสูงขึ้นเพียงพอและสอนได้ตามมาตรฐานที่กำหนด

8.     บุคลากรมีจิตสาธารณะในการบริการสังคมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

9.     ผู้สอนและผู้เรียนมีการคิดค้นนวัตกรรม

10.   ผู้เรียนเป็นที่ยอมรับของตลาดแรงงานและประชาคมโลก


ข้อมูลทั่วไปของวิทยาลัย

2. จุดเน้นในการพัฒนาของสถานศึกษา และความโดดเด่น

จุดเน้นในการพัฒนาของสถานศึกษา

         1.  ผู้บริหารวิทยาลัยมีวิสัยทัศน์ มีความสามารถในการบริหารวิทยาลัย

         2.  บุคลากรมีความตระหนักและให้ความร่วมมือด้านการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งภายในและภายนอก

         3.  ครูผู้สอนมีคุณวุฒิ วัยวุฒิ ความรู้ความสามารถและมีความเชี่ยวชาญ

         4.  สภาพแวดล้อมของวิทยาลัย ด้านอาคารสถานที่ ความสะอาดของพื้นที่มีการดูแลเป็นอย่างดี

         5.  วิทยาลัยมีความพร้อมในระดับสูงด้านเครื่องมือ ห้องปฏิบัติการ และครูผู้สอน ประกอบกับวิทยาลัยฯตั้งอยู่ในพื้นที่ที่สถานประกอบการและโรงงานอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก

         6.  วิทยาลัยมีความพร้อมด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ เช่น ห้องสมุด ห้องอินเตอร์เน็ต มีการสอนในระบบ E-Learning โครงการจัดทำ E-Book ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนผ่านระบบอีเมลล์ และมีศูนย์สารสนเทศที่มีความทันสมัย  

ความโดดเด่นของสถานศึกษา (ผลงาน/รางวัล/เกียรติยศ/ชื่อเสียง)

            1.  รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 การแข่งขันหุ่นยนต์อาชีวศึกษา ระดับชาติ ได้รับรางวัลถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 4 ปี คือ ประจำปีการศึกษา 2550, 2552, 2555 และประจำปีการศึกษา 2556 ในนาม “ทีมหุ่นยนต์  หอยหลอด”

            2.  รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 การแข่งขันทักษะวิชาชีพอาชีวศึกษานานาชาติ 2014 สาขา Competition of Engineering Practice Innovation (การสร้างหุ่นยนต์จากตัวต่อจิกซอ และเขียนโปรแกรมการควบคุมหุ่นยนต์ทำงานและนำมาวิ่งแข่งขันเก็บลูกบอล) ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน

            3.  รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การแข่งขันทักษะวิชาชีพอาชีวศึกษานานาชาติ 2014 สาขา Automatic Production Line Installation and Testing (ออกแบบ ติดตั้งอุปกรณ์ และควบคุมระบบการผลิต ควบคุมการทำงานด้วย PLC) ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน

            4.  รางวัลชนะเลิศการประกวดเรือไฟ โครงการงานประเพณีลอยกระทงกาบกล้วยเมืองแม่กลอง  ได้รับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2555 และ 2556

            5.  ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ประกวดเรือสะเทินน้ำสะเทินบก ในการประกวดสิ่งประดิษฐ์คนรุ่นใหม่ ระดับชาติ ระหว่างวันที่ 6 - 9 กุมภาพันธ์ 2557 MCC Hall เดอะมอลล์บางกะปิ กรุงเทพมหานคร

            6.  ได้รับรางวัลสถานศึกษารางวัลพระราชทานประจำปี 2556

            7. นายณัฐพล  ชันตราชู นักศึกษาสาขาวิชาเขียนแบบเครื่องกล ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ในการแข่งขันการเขียนแบบเครื่องกลด้วยคอมพิวเตอร์ ระดับชาติ  ระหว่างวันที่ 3 7  กุมภาพันธ์ 2557    ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช

            8.  นายสุวรรณ  ศรีโหร  นายสาโรจน์  รัตนดำรงสิน  นายภาราดร  คงสบาย นักศึกษาสาขาวิชาไฟฟ้า ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ในการแข่งขันการเขียนแบบไฟฟ้าด้วยคอมพิวเตอร์ ระดับชาติ ระหว่างวันที่ 3 7  กุมภาพันธ์ 2557 ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช

            9.  นายสุวรรณ  ศรีโหร  นายสาโรจน์  รัตนดำรงสิน  นายภาราดร  คงสบาย  นักศึกษาสาขาวิชาไฟฟ้า ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ในการแข่งขันการเขียนแบบไฟฟ้าด้วยคอมพิวเตอร์ ระดับภาค ระหว่างวันที่ 17 21 ธันวาคม ณ โรงแรมราชศุภมิตร จังหวัดกาญจนบุรี

          10.  นางสาวพรทิพย์  ยังมาก  นางสาวสริดา บัวจันทร์ นักศึกษาสาขาวิชาบัญชี  ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ในการแข่งขันการบัญชีกับคอมพิวเตอร์ (ปวช.) ระดับภาค ระหว่างวันที่ 17 21 ธันวาคม ณ โรงแรมราชศุภมิตร  จังหวัดกาญจนบุรี

          11.  นายศักดิ์ชาย  คำหมาย  นางสาวกันติกมาส  ดั้นเมฆ นักศึกษาสาขาวิชาช่างกลโรงงานได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ในการแข่งขันงานมาตรวิทยา ระดับภาค ระหว่างวันที่ 17 21 ธันวาคม          ณ โรงแรมราชศุภมิตร  จังหวัดกาญจนบุรี

          12.  นายชนะพล  มิ่งสรรพางค์ นักศึกษาสาขาวิชาช่างกลโรงงาน  ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ในการแข่งขันการเขียนแบบเครื่องกลด้วยคอมพิวเตอร์ ระดับภาค ระหว่างวันที่ 17 21 ธันวาคม         ณ โรงแรมราชศุภมิตร  จังหวัดกาญจนบุรี

          13.  นายเกษมศักดิ์  อินทรเทวา  นางสาวฐิติพร  สินทองประเสริฐ  นางสาวหทัยรัตน์  จันทร์อ่อน  นางสาวประภาศรี  ขจรกลิ่น นักศึกษาสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ในการแข่งขันการประดิษฐ์ดอกไม้จากวัสดุธรรมชาติ ระดับภาค  ระหว่างวันที่ 17 21 ธันวาคม ณ โรงแรมราชศุภมิตร จังหวัดกาญจนบุรี

          14. นายกิตตินันท์  ศรสงคราม นักศึกษาทวิภาคีช่างกลโรงงาน ได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทองการแข่งขันฝีมือแรงงานระดับโลก สาขางานกลึงอัตโนมัติ ปี 2015 ที่เมืองซานเปาโล ประเทศบราซิล

          15.  นายอดิศักดิ์  สกุลเตียว  นักศึกษาทวิภาคีช่างกลโรงงาน ได้รับรางวัลเหรียญยอดเยี่ยม การแข่งขันฝีมือแรงงานระดับโลก สาขาการผลิตอัตโนมัติ ปี 2015 ที่เมืองซานเปาโล ประเทศบราซิล

          16.  นางสาวนุชรี  เฮงฮู้  นางสาวสุทธิดา  ปั้นบรรจง  นางสาวนวรีย์  แสงทอง  นางสาวกัญญารัตน์  ปั่นทรัพย์  ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 การแข่งขันทักษะในงานประชุมวิชาการและองค์การนักศึกษาวิชาชีพระดับภาค ครั้งที่ 25 ประปีการศึกษา 2558  ประเภทวิชาคหกรรม การประยุกต์ดอกไม้ในท้องถิ่น  ณ วิทยาลัยเทคนิคประจวบคีรีขันธ์

          17.  นายชวิศ  โถสกุล  นายบัณฑิต แก้วอยู่  นายพงษ์ชเนศ  ดอกปีบ  นายพิเชษฐ  เกษตรทรัย์สิน นายวันชัย  จันทร์คง  นายสหวัตร  คุ้มพงษ์พันธ์  นายสาธิต  พุ่มสุข  ได้รับรางวัลชนะเลิศ อันดับ 1  การประกวดผลงานนักศึกษา ด้านระบบขนส่งทางราง สาขาวิชาช่างไฟฟ้า ณ ศูนย์การค้าเซียร์รังสิต

          18.  นายฐิติพล พิมพ์สุวรรณ  นายภควัต ทรงสุจริตกุล  ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ประเภทเหรียญทอง  ผลงานสิ่งประดิษฐ์ เว็บไซต์สำหรับเขียนโค้ต HTML และ CSS สิ่งประดิษฐ์ประเภทที่ 10 สิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมซอฟแวร์ “Software Innovation” ในงานมหกรรม “สุดยอดนวัตกรรมอาชีวศึกษา” การประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ ระดับภาค (ภาคกลาง) ประจำปีการศึกษา 2558